หลังจากมีข่าวคราวออกมาได้สักพักแล้ว ก็ถึงเวลาที่ Intel จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเสียที เหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียมของ Intel ไปเสียแล้ว ที่เมื่อเข้าปีใหม่ก็จะมีซีพียูรุ่นใหม่ออกมา จำได้เลยว่าเมื่อต้นปี 2010 Intel ก็เพิ่งเปิดตัว Core i ออกมา พอเข้าปี 2011 แค่ไม่กี่วัน ก็เปิดตัวซีพียู Sandy Bridge ของ PC และในวันที่ 19 นี้ก็ได้เวลาแล้วที่จะเปิดตัว Sandy Bridge ของโน้ตบุ๊ก ที่ Intel จะเปิดตัวพร้อมกันเลยตั้งแต่ Core i3, i5 และ i7 ไม่เหมือนตอนเปิดตัว Core i ที่เปิดตัว i7 ก่อน ทำให้เห็นภาพรวมของตลาดเลยนะครับว่า Core i ตัวเก่าคงจะต้องออกไปจากท้องตลาดอันใกล้นี้แน่นอน ทีมงานอาจจะไม่ได้อธิบายเทคนิคจ๋าอะไรมากมายนะครับ เอาที่เป็นประโยชน์และเข้าใจง่ายมากกว่านะครับ |
บสเปก Clevo XMG P501
หลาย ๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า Sandy Bridge คืออะไร Sandy Bridge คือ ชื่อสายการผลิตที่ Intel พัฒนาใช้ในซีพียู ซึ่งใน Sandy Bridge จะเป็นซีพียูที่ Intel ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 32nm ซึ่งจะต่างจาก Nehalem ที่เป็นเทคโนโลยีใน Core i ตัวแรก ๆ (รุ่นที่ไม่มีการ์ดจอในซีพียูนะละ) และพัฒนามาจาก Westmere ซึ่งเป็น Core i ที่มาพร้อมการ์ดจอบนซีพียูนั่นเอง แล้ว Sandy Bridge จะเข้ามาในตลาดไหนบ้างล่ะ Sandy Bridge นั้นจะเป็นซีพียูที่ Intel วางแผนให้ครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มของตลาดโน้ตบุ๊กเลย โดยจะส่งโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูในซีรีส์ของ Core i7 ลงสู่ท้องตลาดก่อนตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2011 และ โน้ตบุ๊ก Core i5, i3 Sandy Bridge ทั้งกลุ่มประสิทธิภาพสูงและราคาประหยัดในช่วงเดือนที่ 2 ของไตรมาสแรก แต่จะยังมี Core i5 และ i3 ในบางรุ่นที่เพิ่งเปิดตัวไป ยังคงอยู่ในท้องตลาดจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ส่วนในตลาดล่างนั้น Pentium และ Celeron ในเทคโนโลยีเดิม จะยังคงอยู่ถึงไตรมาสที่ 2 และหลังจากนั้นก็จะเป็นเทคโลยีใหม่ที่พัฒนามาจาก Sandy Bridge และอะไรอยู่ใน Sandy Bridge ในตระกูลใหม่จะใช้เทคโนโลยีที่เล็กลงไปกว่าเดิมในการผลิต คือ 32 นาโนเมตร รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่มีการจับเอาหน่วยประมวลผล (processor), ตัวควบคุมหน่วยความจำ (memory controller) และการ์ดจอ (graphics) ลงมาอยู่ใน die เดียวกัน ซึ่งจะต่างจาก Westmere ที่แม้การ์ดจอจะอยู่บนซีพียู แต่ก็ไม่ได้อยู่ใน Die เดียวกัน ทำให้ทรัพยากรต่าง ๆ ต้องแยกกัน และไม่สามารถแชร์กันได้ ซึ่งเดี๋ยวทีมงานจะกล่าวต่อไปว่า การ์ดจอมาอยู่ใน Die เดียวกันนั้นมีประโยชน์อย่างไร จากภาพจะเป็น Core i7 จึงมีจำนวน Core ถึง 4 Core เทคโนโลยี Cache ก็ยังใช้ในรูปแบบ L3 และยังมาพร้อม Processor Graphics (ชิปการ์ดจอ) อยู่ติด ๆ กันเลย พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้ง Turbo Boost และ Hyper-threading ก็ยังมาอย่างครบครัน เปรียบเทียบให้เห็นเลยว่าหน้าตาของ Westmere (ใน Core i รุ่นก่อน) แตกต่างจาก Sandy Bridge ที่การผนวกรวมชิปการ์ดจอเข้าไปใน Core (Die) ชิ้นเดียวกัน จุดเด่นอื่น ๆ ที่น่าสนใจใน Sandy Bridge
ว่าแล้วเรามารู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ พิเศษใน Sandy Bridge กันเลยดีกว่า Intel Turbo Boost 2.0 เทคโนโลยีที่ Intel ภาคภูมิใจใน Core i ตัวแรกเลย กับเทคโนโลยีที่สามารถเร่งความเร็วซีพียูให้สูงขึ้นกว่าปกติ (คล้าย ๆ OC) โดยความเร็วจะขึ้นอยู่กับจำนวน Core ที่ใช้งาน, โปรแกรม และ TDP (ความร้อน, แรงดันไฟ) โดยใน Sandy Bridge ก็ยังมาพร้อมเทคโนโลยี Turbo Boost 2.0 ที่ Intel พัฒนาขึ้นดีกว่าเดิม โดยเพิ่มความเร็วได้ถึง 4 สเตป ตั้งแต่สีฟ้าจะเป็นความเร็วตามสเปก สีส้มจะเป็นความเร็วที่ตัว Turbo Boost 1.0 เดิมทำได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ TDP (ความร้อน, แรงดันไฟ) และตัวใหม่คือสีน้ำตาลที่ Intel เรียกว่า “Dynamic Range” ที่จะไม่ได้อิงจาก TDP แล้ว แต่จะสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นไปได้อีกเรื่อย ๆ มากกว่าสเปกที่ออกมาจากโรงงานเสียอีก แต่จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก เช่นถ้าเล่นในห้องแอร์ ก็จะเร่งความเร็วไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าอุณหภูมิซีพียูจะสูงเกินไป ขณะที่ถ้าใช้งานที่ร้อน ๆ ก็จะเร่งความเร็วเพิ่มไม่ได้มาก Graphics Dynamic Frequency Scaling การ์ดจอออนซีพียูก็เป็นอีกจุดที่แตกต่างจาก Core i รุ่นเก่า เพราะด้วยการผนวกรวมชิปการ์ดจอไว้ใน Dia เดียวกัน ทำให้สามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้ไม่ว่าจะเป็นพลังงานหรือทรัพยากรต่าง ๆ สามารถปรับความเร็วได้โดยอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และเมื่อต้องการใช้งานการ์ดจอหนัก ๆ ก็สามารถใช้ฟังก์ชัน Turbo Boost 2.0 เพื่อเร่งความเร็วของการ์ดจอเพิ่มให้มากขึ้นกว่าในสเปกปกติ โดยจะทำงานสัมพันธ์กับ Turbo Boost ของซีพียู เพราะว่าต้องแชร์ทรัพยากรกันนั่นเอง New Intel Ring Bus พูดกันตามภาษาพื้นบ้านเลยก็คือ สะพานที่ช่วยแชร์แคช L3 ให้ครอบคลุมทั้งหมดเห็นเหมือนเป็นหน่วยความจำชุดเดียวกัน รวมถึงการแชร์หน่วยความจำแคชให้การ์ดจอที่อยู่ในซีพียูด้วย ทำให้เมื่อต้องการใช้ทรัพยากรก็สามารถดึงแชร์กันได้ ไม่ได้ล็อกจำกัดแต่ Core ใด Core หนึ่ง Intel HD 3000 การ์ดจอของ Sandy Bridge ที่อยู่ในซีพียูจะปรับปรุงจาก Intel HD GMA เดิม ได้มีการปรับปรุงให้รองรับเทคโนโนโลยีใหม่ ๆ ทั้ง Direct X 10.1, Open GL 3.0, SM4.1, ความสามารถในการปรับความเร็ว (Dynamic Frequency Scaling) พร้อมสเปกความเร็วของ Core การ์ดจอที่สูงขึ้นกว่ารุ่นเดิม Intel 6 Series Chipset ด้วยสเปกของชิปเซตที่รองรับ Sandy Bridge นั้นสามารถรองรับอุปกรณ์เพิ่มเติมได้มากขึ้นกว่าเดิมทั้ง (เวลาโชว์ใน CPU-Z จะโชว์เป็น Intel IDxxx)
เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
|
Sandy Bridge CPU อย่างที่เห็นจากในภาพด้านบน มีตัวใหม่ ๆ ออกมาหลายตัวเลย โดยเฉพาะสาย Core i7 และ i5 แต่นั่นยังสร้างความมึนงงให้ไม่สาแก่ใจ Intel ยังเปลี่ยนเลขรหัสรุ่นจากเดิมที่จะเป็นเลข 3 หลักให้กลายเป็น 4 หลัก โดยรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไปดูได้จากตรงนี้เลย ตารางรายละเอียดชิปแต่ละรุ่น โดยรุ่นแรกที่จะลงสู่ตลาด คือ Core i7 ส่วนรุ่นกินไฟต่ำ (ULV) จะตามมาในครึ่งปีหลัง เมื่อพูดถึงสเปกทั่ว ๆ ไปของ Sandy Bridge นั้น ก็ไม่ได้ต่างจาก Core i ตัวเดิมมากนัก นอกจากแคช L3 ที่เพิ่มความจุสูงสุดเป็น 8MB สำหรับชื่อรุ่นจะเพิ่มเป็น 4 หลัก ด้วยสาเหตุที่เพิ่มเลข “2” เข้ามาต่อจากเลขซีรีส์ คือ ตัวบ่งบอกว่าเป็น Gen ที่ 2 ของ Core i นั่นเอง ต่อจากนั้นก็จะตามด้วยชื่อรุ่น เหมือนพวก 450 460 ต่อมาก็จะเป็นการบอกซีรีส์พิเศษ เช่น “Q” ก็คือการสื่อถึง Quad Core ส่วนอักษรตัวท้าย คือ บ่งบอกว่าเป็นกลุ่มไหน เช่น K ใน PC และ M ในกลุ่มของโน้ตบุ๊ก มาถึงผลเทสต์กันบ้าง SuperPi SuperPi เป็นโปรแกรมที่ค่อนข้างเก่า ซีพียูที่มีความเร็วสูงจึงจะได้เปรียบในโปรแกรมนี้ ยิ่ง Turbo Boost สูงก็จะทำเวลาได้ดี จากภาพจะเห็นเลยนะครับว่า i7-2920XM ที่เป็นตัว Top ของ Sandy Bridge สามารถทำเวลาในการคำนวณได้น้อยที่สุด แต่ที่น่าสนใจก็คือ i7-2630QM ซึ่งเป็น Core i7 ระดับเริ่มต้นที่ขายในบ้านเราไปแล้วนั้น สามารถทำเวลาได้เทียบเท่าซีพียูตัวท็อปในอดีตอย่าง i7-940QM เลยทีเดียว และไม่ต้องพูดถึง i7-740QM ที่ระดับราคาเท่ากัน ก็ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด 3DMark 2006 / Vantage คะแนนที่เทสต์ 3DMark ในส่วนของซีพียู แน่นอนว่า 2920XM สามารถทำคะแนนได้สูงสุด สมกับเป็นตัวท็อป ส่วนในตัวของ i7-2630QM ซึ่งเป็นรุ่นที่วางจำหน่าย ก็ยังสามารถทำคะแนนออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม ทำคะแนนได้เหนือกว่า 940QM มากกว่าจนเห็นได้ชัดว่าคะแนนทิ้งกันกว่า 2,000 คะแนน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง 740QM ที่ราคาเท่ากัน ซึ่งคะแนนทิ้งไปกว่า 6,000 คะแนนเลยทีเดียว Power Consumptionมาถึงการใช้พลังงานที่ 2630QM ใช้พลังงานต่ำสุดที่ 27W และสูงสุด 94.1W ซึ่งเทียบเท่ากับใน Core i7 เดิม เพราะการใช้พลังงานเฉลี่ยเท่ากัน โน้ตบุ๊ก Intel Sandy Bridge ที่ออกสเปกอย่างเป็นทางการแล้ว ที่เปิดตัวมาตอนนี้มีแค่ 3 รุ่นจาก 3 ค่ายเท่านั้น แต่ดูรูปการณ์แล้วหลังงานเปิดตัวน่าจะมีออกมากันอีกเพียบ Link : http://notebookspec.com/notebook/3438-HP+Pavilion+dv6-4011TX.html Link : http://notebookspec.com/notebook/3446-Lenovo+IdeaPad+Y460p.html ฟันธงกันไปเลยว่า Gen 1 หรือ Sandy Bridge คุ้มกว่ากัน ทีมงานเทียบสเปกให้เห็น ๆ กันเลยนะครับระหว่าง i7-2630QM และ i7-740QM ที่ระดับราคาเท่ากัน จะเห็นได้ว่าสเปกหลัก ๆ แทบไม่ได้ต่างกันมากนัก ไม่ว่าจะเป็นแคช กำลังไฟ แถมบางสเปกอย่าง L1 L2 Sandy Bridge ยังด้อยกว่าด้วยซ้ำ แต่ด้วยความเร็วเริ่มต้นที่สูงกว่าเป็น 2.2 GHz และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่อัดแน่นใน Sandy Bridge ตัวใหม่นี้ ทำให้ประสิทธิภาพในโปรแกรมทดสอบไม่ว่าจะเป็น Super PI และ 3DMark แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพความแตกต่างที่ Sandy Bridge อย่าง 2630QM แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในราคาที่ไม่ต่างกันเลย แล้วจะไม่ให้เลือก Sandy Bridge ได้อย่างไร ปล. ฟันธงเลยนะครับ ว่าไม่สามารถเอา Sandy Bridge มาใส่ในรุ่นเก่าได้ เพราะ Socket ไม่เท่ากัน ทีมงาน NBS ฟันธง สำหรับทุกท่านที่ต้องการประสิทธิภาพระดับสุดยอด สดใหม่ ในราคาที่คุ้มค่าไม่ไกลเกินเอื้อมละก็ ต้อง Sandy Bridge เลยครับ ขอบคุณข้อมูลจาก notebookcheck.net |